วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่2

บันทึกอนุทิน ครั้งที่2
วัน อังคาร ที่ 20 มกราคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ
           วันนี้เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับ รูปแบบการจัดการศึกษา ทำแบบทดสอบ Pretest และทบทวนร้องเพลงต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีเนื้อหาดังนี้

รูปแบบการจัดการศึกษามี 4 แบบ
  • การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  • การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  • การศึกษาเเบบเรียนรวม (Inclusive Education)
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
        มักอยู่ในความดูแลของหน่วยงานพิเศษ เมื่อต้องการจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปเรียนกับระบบการศึกษาทั่วไป ครูการศึกษาพิเศษและครูปฐมวัยจะร่วมมือกันและใช้ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในแต่ละวันให้เด็กพิเศษและเด็กปกติเรียนร่วมกัน ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเช้า กิจกรรมที่สอน มักเป็นศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
      ส่วนใหญ่มักมีอาการหนักจึงไม่สามารถเรียนร่วมเต็มเวลาได้ จึงได้จัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติบางเวลา เพื่อเปิดโอกาสได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ

การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
      จัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาได้รับกระบวนการจัดการเรียนรู้เหมือนเด็กปกติทั่วไป เมื่อมีเด็กพิเศษในห้องเรียนเราต้องบอกเด็กๆก่อน เพื่อให้เด็กได้เข้าใจซึ่งกันเเละกัน และยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ว่าทุกคนเกิดมาไม่เหมือนกัน มีความแตกต่างกัน แต่ทุกคนก็ยังต้องการความรัก ความเอาใจใส่เช่นเดียวกัน

 ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
        อยู่ในโรงเรียนเรียนร่วมกันตั้งแต่วันแรกที่ผู้ปกครองพามาสมัคร จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

สรุปการศึกษาแบบเรียนร่วม  และแบบเรียนรวม
      การศึกษาเเบบเรียนร่วมต้องมาจากหน่วยงานพิเศษก่อน เวลาเรียนจะมี2แบบ คือ เรียนร่วมบางเวลา ซึ่งเลือกเรียนเพียงช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งส่วนใหญ่จะเรียนช่วงเช้าครึ่งวันแล้วกลับเลย และเรียนร่วมเต็มเวลา สามารถเรียนเต็มวันได้แต่ไม่ใช่ทุกวัน ส่วนการศึกษาเเบบเรียนรวม เข้ามาเรียนตั้งเเต่วันแรกที่ผู้ปกครองพามาสมัคร ทำอะไรได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป ไม่ต้องผ่านหน่วยงานพิเศษ เเละสามารถเรียนได้จนตลอดเทอม

การนำไปประยุกต์ใช้
  1. การจัดการเรียนการสอนเด็กพิเศษสำหรับปฐมวัย มีความสำคัญมากเพราะเป็นวัยทองที่สมองกำลังผลิตเซลล์สมองมาก การสอนให้เด็กได้เรียนรู้ตั้งแต่ช่วงปฐมวัยจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้เร็ว เข้าใจง่าย เเละง่ายต่อการสอน เด็กก็จะไม่หงุดหงิดง่ายเมื่อทำอะไรได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้เด็กไม่เครียดต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
  2. ส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ ไม่เป็นภาระของผู้อื่น สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
  3. เปิดโอกาสให้เด็กพิเศษเเละเด็กปกติได้เข้าใจซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ช่วยเหลือกันและกัน
  4. รู้จักเพลงที่หลากหลายและเพลงที่สอนก็เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กพิเศษก็สามารถนำไปสอนได้
การประเมิน  

ประเมินตนเอง  เข้าห้องตรงเวลา ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ฝึกร้องเพลงมาแต่ก็ยังร้องไม่เพราะแต่จำเนื้อเพลงได้แล้ว  จดเนื้อหาเพิ่มเติมนอกจากในชีท ร่วมตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม และเเต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน ส่วนใหญ่เข้าห้องตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึก สนทนาโต้ตอบร่วมเเสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ได้เป็นอย่างดี อาจจะมีคุยกันบ้างเล็กน้อยแต่เมื่ออาจารย์เรียกเตือนสติเพื่อนๆก็กลับมาตั้งใจฟังเหมือนเดิม
ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ สอนไม่น่าเบื่อ มีเล่าประสบการณ์ต่างๆให้คลายเครียดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ได้ อาจารย์อารมณ์ดี ยิ้มแย้มเสมอเวลาสอนทำให้สบายใจเมื่อเรียนด้วย เพราะสามารถพูดคุยได้










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น