วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่3

บันทึกอนุทิน ครั้งที่3
วัน อังคาร ที่ 27 มกราคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้เรียนเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม ได้ทราบพฤติกรรมของครูที่ควรปฏิบัติต่อเด็กและไม่ควรปฏิบัติต่อเด็ก มีกิจกรรมที่ทำวาดภาพดอกทานตะวัน เนื้อหาดังนี้




กิจกรรมวันนี้ วาดภาพดอกทานตะวันตามแบบที่ให้และบรรยายถึงสิ่งที่เห็นในภาพ


ผลงานของฉัน




วันนี้ร้องเพลง ฝึกกายบริหาร

 ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว



ผู้แต่ง  อ. ศรีนวล  รัตนสุวรรณ

เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน

เนื้อหาที่เรียนในวันนี้
  • ครูไม่ควรวินิจฉัย  
- การวินัจฉัย คือ การตัดสินใจโดยดูจากอาการบางอย่าง
- จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

  •     ครูไม่ควรตั้งชื่อให้เด็ก
- เป็นครูไม่ควรทำกับเด็กเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
- ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
- เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ ซึ่งคนเป็นครูไม่ควรเชื่อ เช่น เเม้ว่าผู้ปกครองจะบอกว่าเด็กปัญญาอ่อน เรียนไม่เข้าใจ ให้ครูสนใจเวลาสอนเด็กเพราะบางทีเด็กอาจไม่ได้เป็นอย่างที่ผู้ปกครองเข้าใจ จะได้พัฒนาเด็กให้เป็นไปตามพัฒนาการได้อย่างถูกต้อง

  • ครูไม่ควรบอกพ่อเเม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- ครูไม่ควรย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่เเล้ว ไม่ควรแนะนำให้ไปหาหมอ
- ครูควรพูดในสิ่งที่ให้ความหวังในด้านบวกและพูดให้ผู้ปกครองเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
- ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้ เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้ด้วย เวลาพูดต้องชมก่อนพูดในสิ่งดีๆของเด็กและค่อยแทรกสิ่งไม่ดีไปทีละน้อยด้วย
  • ครูจะทำอะไรได้บ้าง
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
- จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
  • สังเกตอย่างมีระบบ
- ไม่มีใครสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู เพราะครูมองเห็นเด็๋กเป็นภาพรวมและสังเกตโดยรอบด้าน ยกตัวอย่าง หมอ นักจิตวิทยา จะให้ความสนใจอยู่ที่ด้านเดียวเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ
- ครูเห็นเด็กด้วยระยะเวลาที่ยาวนานกว่าอยู่กับเด็กตลอดเวลาทำให้เห็นถึงพฤติกรรมต่างๆที่เด็กแสดงออกแต่สถานการณ์
  • การใช้แบบสังเกต
- จะใช้กับเด็กบางคนเท่านั้น
- จะสังเกตวันเดียวเลยไม่ได้ต้องใช้ระยะเวลา1เพื่อมองให้เป็นภาพรวมก่อน
  • การตรวจสอบ
- ทำให้ทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
- เป็นเเนวทางสำคัญให้ครูและพ่อแม่เด็กเข้าใจเด็กได้มากขึ้น
- บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
  • ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินน้ำหนักความสำคัญของเรื่อง โดยการแก้ปัญหาต้องเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา คนใหนควรได้รับการแก้ไขก่อน เปรียบเทียบพฤติกรรมที่เด็กทำกับพฤติกรรมที่ผู้ใหญ่ทำ อะไรที่มองข้ามได้ก็ปล่อยไปบ้าง และต้องแก้ไขให้ตรงจุด
- พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

  • การบันทึกการสังเกต
- การนับอย่างง่ายๆ คือ นับจำนวนครั้งเกิดพฤติกรรม  นับระยะเวลากี่ครั้งกี่ชั่วโมงแต่ละวัน  ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
- การบันทึกต่อเนื่อง  ได้ข้อมูลมากสุดและมีคุณภาพที่สุด


- บันทึกตามสภาพจริงตามที่เห็นเท่านั้นเป็นการสังเกตที่ให้รายละเอียดได้มาก จะเขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงกิจกรรม โดยไม่เข้าไปแนะนำหรือช่วยเหลือ
  • การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
- บันทึกลงบัตรเล็กๆ เป็นการบันทึกสั้นๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง



ตัวอย่าง "น้องจอยปีนบันไดโค้งได้5ขั้น โดยใช้เท้าซ้ายก้าวออกไปก่อน เเล้วจึงเดินเท้าขวาตามไปจับราวบันไดแน่นทั้งสองมือ"
  • การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
- ควรเอาใจใส่ในระดับความมากน้อย ของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
- พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบกับเด็กได้ทุกคนไม่จัดว่าผิดปกติ
  • การตัดสินใจ
- ต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง ดูว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นไปขัดขวางการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่ ถ้าขัดขวางก็แก้ไข ถ้าไม่ขัดก็ปล่อยไป

การนำไปประยุกต์ใช้
  1. ได้รู้แนวทางการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาของเด็กว่าควรเลือกแก้ปัญหาที่สำคัญก่อน คนไหนควรได้รับการแก้ไขก่อน-หลัง
  2. ครูควรตระหนักในการวางตัวต่อเด็กควรทำสิ่งดีๆ มองโลกในแง่ดี ไม่ว่าเด็กในทางลบ
  3. การช่วยเหลือและให้คำแนะนำกับผู้ปกครองเพื่อหาเเนวทางส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ดีขึ้น
  4. ได้เห็นถึงความสำคัญของอาชีพครูที่ไกล้ชิดกับเด็กมากกว่าอาชีพอื่นจึงอยากปลูกฝังให้เด็กเป็นคนดีของสังคม และประเทศชาติ เด็กทุกคนควรได้รับการจัดการเรียนการสอนที่ดี  อยู่ในสิ่งเเวดล้อมที่ดีเหมาะสมต่อการเรียนรู้
  5. ได้รู้จักเพลงที่หลากหลายที่สามารถช่วยในการบำบัดของเด็กพิเศษและเลือกนำไปใช้สอนได้อย่างเหมาะสม
การประเมิน 

ประเมินตนเอง   เข้าห้องเรียนตรงเวลา ช่วยอาจารย์ถือของ ตั้งใจเรียน ตอบคำถามบ้างบางครั้ง จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมในเวลาเรียน ตั้งใจวาดภาพให้เหมือนที่สุด แต่งกายเรียบเรียบ
ประเมินเพื่อน   ส่วนใหญ่เข้าห้องตรงเวลา มีคุยบ้างบางคน ซึ่งอาจจะเป็นช่วงต้นสัปดาห์จึงทำให้มีเรื่องคุยเยอะ ช่วงที่อาจารย์ให้วาดภาพมีทำของตกบ้าง เช่น กบเหลาดินสอ สี อาจจะเป็นเพราะ วางของเยอะเกินไปบนโต๊ะ ตั้งใจวาดภาพโดยบางคนก็วาดรูประบายสีเสร็จเร็วบางคนก็เสร็จช้าขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน เมื่อใช้สีเสร็จทุกคนก็บอุปกรณ์เข้าที่เดิมอย่างเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์  ตั้งใจสอน มีเรื่องต่างๆมาเล่าให้ฟัง มีบทบาทสมมุติให้ดู ทำให้เข้าใจในเนื้อหามากขึ้น ใส่ใจนักศึกษาเวลาเรียนโดยเดินดูเวลาทำงาน ชวนพูดคุย ยิ้มแย้มเสมอ ทำให้บรรยากาศในห้องสนุกไม่น่าเบื่อ








วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่2

บันทึกอนุทิน ครั้งที่2
วัน อังคาร ที่ 20 มกราคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ
           วันนี้เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับ รูปแบบการจัดการศึกษา ทำแบบทดสอบ Pretest และทบทวนร้องเพลงต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีเนื้อหาดังนี้

รูปแบบการจัดการศึกษามี 4 แบบ
  • การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  • การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  • การศึกษาเเบบเรียนรวม (Inclusive Education)
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
        มักอยู่ในความดูแลของหน่วยงานพิเศษ เมื่อต้องการจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปเรียนกับระบบการศึกษาทั่วไป ครูการศึกษาพิเศษและครูปฐมวัยจะร่วมมือกันและใช้ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในแต่ละวันให้เด็กพิเศษและเด็กปกติเรียนร่วมกัน ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเช้า กิจกรรมที่สอน มักเป็นศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
      ส่วนใหญ่มักมีอาการหนักจึงไม่สามารถเรียนร่วมเต็มเวลาได้ จึงได้จัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติบางเวลา เพื่อเปิดโอกาสได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ

การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
      จัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาได้รับกระบวนการจัดการเรียนรู้เหมือนเด็กปกติทั่วไป เมื่อมีเด็กพิเศษในห้องเรียนเราต้องบอกเด็กๆก่อน เพื่อให้เด็กได้เข้าใจซึ่งกันเเละกัน และยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ว่าทุกคนเกิดมาไม่เหมือนกัน มีความแตกต่างกัน แต่ทุกคนก็ยังต้องการความรัก ความเอาใจใส่เช่นเดียวกัน

 ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
        อยู่ในโรงเรียนเรียนร่วมกันตั้งแต่วันแรกที่ผู้ปกครองพามาสมัคร จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

สรุปการศึกษาแบบเรียนร่วม  และแบบเรียนรวม
      การศึกษาเเบบเรียนร่วมต้องมาจากหน่วยงานพิเศษก่อน เวลาเรียนจะมี2แบบ คือ เรียนร่วมบางเวลา ซึ่งเลือกเรียนเพียงช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งส่วนใหญ่จะเรียนช่วงเช้าครึ่งวันแล้วกลับเลย และเรียนร่วมเต็มเวลา สามารถเรียนเต็มวันได้แต่ไม่ใช่ทุกวัน ส่วนการศึกษาเเบบเรียนรวม เข้ามาเรียนตั้งเเต่วันแรกที่ผู้ปกครองพามาสมัคร ทำอะไรได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป ไม่ต้องผ่านหน่วยงานพิเศษ เเละสามารถเรียนได้จนตลอดเทอม

การนำไปประยุกต์ใช้
  1. การจัดการเรียนการสอนเด็กพิเศษสำหรับปฐมวัย มีความสำคัญมากเพราะเป็นวัยทองที่สมองกำลังผลิตเซลล์สมองมาก การสอนให้เด็กได้เรียนรู้ตั้งแต่ช่วงปฐมวัยจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้เร็ว เข้าใจง่าย เเละง่ายต่อการสอน เด็กก็จะไม่หงุดหงิดง่ายเมื่อทำอะไรได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้เด็กไม่เครียดต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
  2. ส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ ไม่เป็นภาระของผู้อื่น สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
  3. เปิดโอกาสให้เด็กพิเศษเเละเด็กปกติได้เข้าใจซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ช่วยเหลือกันและกัน
  4. รู้จักเพลงที่หลากหลายและเพลงที่สอนก็เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กพิเศษก็สามารถนำไปสอนได้
การประเมิน  

ประเมินตนเอง  เข้าห้องตรงเวลา ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ฝึกร้องเพลงมาแต่ก็ยังร้องไม่เพราะแต่จำเนื้อเพลงได้แล้ว  จดเนื้อหาเพิ่มเติมนอกจากในชีท ร่วมตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม และเเต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน ส่วนใหญ่เข้าห้องตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึก สนทนาโต้ตอบร่วมเเสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ได้เป็นอย่างดี อาจจะมีคุยกันบ้างเล็กน้อยแต่เมื่ออาจารย์เรียกเตือนสติเพื่อนๆก็กลับมาตั้งใจฟังเหมือนเดิม
ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ สอนไม่น่าเบื่อ มีเล่าประสบการณ์ต่างๆให้คลายเครียดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ได้ อาจารย์อารมณ์ดี ยิ้มแย้มเสมอเวลาสอนทำให้สบายใจเมื่อเรียนด้วย เพราะสามารถพูดคุยได้










วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่1

บันทึกอนุทิน ครั้งที่1
วัน อังคาร ที่ 13 มกราคม 2558



ความรู้ที่ได้รับ  วันนี้อาจารย์เล่าประสบการณ์ที่พารุ่นพี่ปี 4 ไปค่ายจิตอาสาสร้างโรงเรียนให้เด็กๆ จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ฟัง...และวันนี้เนื่องจากโปรเจ็คเตอร์ยังไม่พร้อมใช้งาน อาจารย์จึงเฉลยข้อสอบเมื่อปลายภาคให้ทบทวนความรู้เก่าๆไปด้วย  เช่น 
- ความรู้เกี่ยวกับ Pecs เป็นโปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพแบบช่ั่วคราว
- ยาที่ใช้กับเด็กสมาธิสั้น Methylphenidate
- อาจารย์แจกใบงานเขียนเกี่ยวกับความรู้เดิมของเด็กพิเศษที่เรียนไปในเทอมที่แล้ว โดยห้ามเปิดดูหรือลอกกัน
- แจกชีทเพลง และสอนร้องเพลง5เพลง โดย อาจารย์สอนร้อง1-2รอบและให้ร้องเอง ตามที่แบ่งกลุ่มและร้องพร้อมกันทั้งห้อง ซึ่งอาจารย์มีเครื่องเคาะจังหวะช่วยให้การร้องเพลงดีขึ้นได้ ประกอบไปด้วย 5 เพลง ดังต่อไปนี้



ผู้เเต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน


                                                           1. เพลงนม                                                        
นมเป็นอาหารดี  มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ  ร่างกายแข็งแรง
ยังมีนมถั่วเหลือง  ดื่มได้ดีและไม่แพง
ดื่มแล้วชื่นใจ  ร่างกายแข็งแรง

2.เพลงอาบน้ำ
อาบน้ำซู่ซ่า  ล้างหน้าล้างตา
ฟอกสบู่ถูตัว  ชำระเหงื่อไคล
ราดน้ำให้ทั่ว  เสร็จแล้วเช็ดตัว
อย่าให้ขุ่นมัว  สุขกายสบายใจ

3.เพลงแปรงฟัน
ตื่นเช้าเราแปรงฟัน
กินอาหารแล้วเราแปรงฟัน
ก่อนนอนเราแปรงฟัน
ฟันสะอาดขาวเป็นเงางาม
แปรงฟันที่ถูกวิธี  ดูซิต้องแปรงขึ้นลง
 แปรงฟันที่ถูกวิธี  ดูซิต้องแปรงขึ้นลง 

4.เพลงพี่น้องกัน
บ้านของฉันอยู่ด้วยกันมากหลาย
พ่อ แม่ ปู่ ย่า ลุง ป้า ตา ยาย
มีทั้งน้า อา พี่และน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย  เราเป็นพี่น้องกัน

5.เพลงมาโรงเรียน
เรามาโรงเรียน  เราเขียนเราอ่าน
ครูเล่านิทานสนุกถูกใจ
เราเรียนเราเล่น  เราเป็นสุขใจ
ร่าเริงเเจ่มใสเมื่อมาโรงเรียน






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. ทบทวนความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษและรู้ว่าความรู้เดิมจะลืมไม่ได้เพราะต้องมาเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่จะทำให้การเรียนในวิชาต่อไปเข้าใจมากขึ้น
  2. ได้รู้จักเพลงที่หลากหลายเลือกไปใช้ในการสอนเด็กได้ และเพลงที่อาจารย์นำมาสอนเหมาะสมในการสอนเด็กพิเศษมากเพราะเนื้อหาของเพลงเด็กสามารถปฏิบัติทำตามได้
  3. ถ้าฝึกฝนร้องบ่อยๆจะทำให้จำเนื้อหาและร้องเพลงได้ดีมากขึ้น
การประเมิน 

 ประเมินตนเอง   เข้าห้องเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนไม่คุยกันเสียงดัง ซื่อสัตย์ต่อตนเองปฏิบัติตามคำสั่งอาจารย์ โดยไม่เปิดเนื้อหาจากที่อื่นดู ให้ทำเท่าที่ได้ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ร้องเพลง

ประเมินเพื่อน  เข้าห้องตรงต่อเวลา เวลาเรียนสนุกสนาน ไม่เครียด มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์ ตั้งใจเรียนและมีบางคนร้องเพลงเพราะตรงจังหวะ แต่ห้องนี้ส่วนใหญ่ร้องไม่ตรงจังหวะเยอะ

ประเมินอาจารย์  เข้าห้องตรงเวลา แต่งกายสุภาพ วันนี้อาจารย์ไม่ค่อยสบายจึงจิบน้ำบ่อย  สอนสนุกไม่เครียด มีเรื่องต่างๆมาเล่าให้ฟัง เช่น เรืื่องไปค่าย การเดินทาง ร้องเพลงเพราะ ใส่ใจในการสอน มีการประเมินเกี่ยวกับการร้องเพลงว่าใครร้องเป็นยังไงเผื่อให้นักศึกษาได้รู้และไปฝึกร้องบ่อยๆ