บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วัน อังคาร ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์อธิบายเนื้อหาเรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ และมีกิจกรรมต้นชั่วโมงให้ทำ ปิดท้ายด้วยการสอนร้องเพลงอีก 4 เพลง โดยมีเนื้อหาในการสอนเรื่องต่างๆ ดังนี้
กิจกรรมวันนี้
- ให้สวมถุงมือข้างที่ไม่ถนัดและวาดรูปมือข้างที่สวมถุงมือไว้ว่าเราจะจำรายละเอียดของมือเราได้มากน้อยแค่ไหน
จากกิจกรรมนี้ ทำให้เราทราบว่าการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของเด็กไม่ควรใช้การจำ ควรบันทึกตามที่เห็นในขณะนั้นๆ เพราะถ้าจำเเล้วค่อยมาบันทึกจะได้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนหรือบางทีครูอาจแต่งเติมความคิดของตนเองลงไป ทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่แท้จริงได้ ดังนั้น ครูควรมีกระดาษแผ่นเล็กๆติดตัวไว้เมื่อเห็นเด็กแสดงพฤติกรรมอะไรก็จดบันทึกได้ทันที
หัวข้อเรื่อง การสอนเด็กพิเศษเเละเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ ( ครูควรมองเด็กให้เท่าเทียมกัน )
การฝึกเพิ่มเติมในการสอนเด็กพิเศษ
- อบรมระยะสั้น หรือ สัมมนา
- สื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ครู
การเข้าใจภาวะปกติ
- เด็มักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่างกัน
- ครูมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษเท่ากัน
- รู้จักแต่เเต่ละคน (ควรจำชื่อจริง ชื่อเล่นเด็กให้ได้ทุกคน)
- มองเด็กให้เป็น"เด็ก"
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
การเข้าใจพัฒนาการเด็กช่วยให้ ครูเข้าใจความเเตกต่างของเด็กแต่ละคนได้
ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ
- เเรงจูงใจ
- โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
- ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
- เมื่อเด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
- ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
- ครูต้องมีความสนใจเด็ก
- ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
- ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมที่ล่อใจเด็ก
- ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
- ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
- ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนานเด็กอยู่ด้วยจะได้สบายใจ
อุปกรณ์
- มีลักษณะง่ายๆ
- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
- เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ทัศนคติของครู
1. ความยืดหยุ่น
- การเเก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็กได้
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน ข้อนี้สำคัญมาก!
2. การใช้สหวิทยาการ
- ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลอาชีพอื่นๆ
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
3. เด็กทุกคนสอนได้
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ ครูไม่ควรมองเด็กแบบข้อนี้!
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
4. วิธีแสดงออกจากเเรงเสริมของผู้ใหญ่
- ตอบสนองด้วยวาจา เช่น คำชมต่างๆ
- การยืนหรือการนั่งใกล้เด็ก
- พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
- สัมผัสทางกาย
- ให้ความช่วยเหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
เทคนิคการให้แรงเสริม
เเรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
- มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆ ก็จะลดลงและหายไป
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
- ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมอันพึงประสงค์
- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
- ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท(prompting)
- ย่อยงาน
- ลำดับความยากง่ายของงาน
- การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
- การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
- วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
- สอนจากง่ายไปยาก
- ให้เเรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเพื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
- ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวในขั้นต่อไป
- ให้เเรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ไกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
- ทีละขั้นไม่เร่งรัด"ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น"
- ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
- จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
- พฤติกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน
- เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือของเล่นของไปจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากการเล่น
ความคงเส้นคงวา
เปิดเทอมสอนเด็กอย่างไร ก็สอนแบบนั้น!
กิจกรรมสุดท้ายสอนร้องเพลงต่อจากสัปดาห์ที่แล้วอีก 4 เพลง ดังนี้
กิจกรรมสุดท้ายสอนร้องเพลงต่อจากสัปดาห์ที่แล้วอีก 4 เพลง ดังนี้
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิน
1. เพลง ผลไม้
ส้มโอ แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น พุทรา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์
2. เพลง กินผักกัน
กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กะหล่ำปี
3. เพลง ดอกไม้
ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู
4. เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี
การนำไปประยุกต์
- การสังเกตพฤติกรรมเด็กต้องบันทึกตามสถานการณ์จริงไม่ปรุงเเต่งความคิดตนเองลงไป
- การให้ความรัก ความเข้าใจต่อเด็ก มีทัศนคติที่ดีกับเด็กพิเศษ เพราะทุกคนเกิดมาย่อมมีความแตกต่างกัน
- ได้รู้จักเพลงที่หลากหลายสามารถเลือกนำไปร้องสอนเด็กร้องเพลงได้ เเละในเนื้อเพลงยังมีประโยชน์เมื่อเด็กร้องเพลงเด็กสามารถทำตามเนื้อเพลงได้
การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย วันนี้มีแอบง่วงบ้างเพราะเนื้อหาเยอะและดิฉันไม่ค่อยสบายกินยาไปเลยทำให้ง่วงเวลาเรียน แต่ก็พยายามจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนสม่ำเสมอ
ประเมินเพื่อน วันนี้มีเพื่อนๆบางคนมาสาย4-5 คน ตั้งใจเรียน สนทนาโต้ตอบร่วมกับอาจารย์ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม แต่งกายเรียบร้อยทุกคน
ประเมินอาจารย์ สอนตรงเวลา มีเทคนิคในการสอนที่เข้าใจง่าย และสนุก ไ่ม่เครียด มีกิจกรรมสนุกๆมาให้ทำทุกอาทิตย์และมีเพลงเนื้อหาสนุกๆ จำง่าย มาสอนเพื่อให้นักศึกษามีเพลงหลากหลายเพื่อไว้นำไปสอนเด็กในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น