วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6 
วัน อังคาร ที่ 3 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ แล้วอาจารย์ก็มีกิจกรรมให้ทำ 3 กิจกรรม



1.  แบบทดสอบทางจิตใจ 5 ข้อ




2.  กิจกรรมที่ใช้ฝึกการบำบัดเด็กพิเศษ โดยให้ จับคู่กับเพื่อนแล้วแบ่งกันว่าใครจะเป็นเส้น ใครเป็นจุด แล้วอาจารย์จะเปิดเพลงคนเป็นเส้นก็ลากเส้นตามจังหวะของเพลงห้ามยกสีเทียนขึ้นก่อนที่เพลงจะจบ ส่วนคนที่เป็นจุดก็จุดตามวงกลมของคนที่เป็นเส้นลากไว้ โดยฟังจากจังหวะของเพลงกัน ทั้งคู่ต้องทำไป
พร้อมๆกัน



3. ร้องเพลงทั้งหมด 6 เพลง โดยมีเนื้อหาเพลงดังนี้ 

ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง  อ.ตฤณ  แจ่มถิน

เพลง  ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง  ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า  บ่งเวลาว่า
กลางวัน

เพลง  ดอกมะลิ
ดอกมะลิ  กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ  อบขนมหอมชื่นใจ

เพลง  นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู จุ๊กกรู  

เพลง  ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
เเสงพราวตาเวลาค่ำคืน

เพลง  กุหลาบ
กุหลาบงาม  ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน

เพลง  รำวงดอกมะลิ
รำวง  รำวง  ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจ  จริงเอย


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.ทักษะทางสังคม
  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
*ดังนั้น สภาพแวดล้อมไม่จำเป็นต้องเน้นมาก เพราะไม่มีผลต่อเด็ก (ควรปรับที่ตัวเด็กมากกว่า)

กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงแรกๆ  เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน เเต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  • ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ (สำคัญ)
  • จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  • ครูจดบันทึก
  • ทำแผน IEP ครูต้องรู้จักเด็กคนนั้นอย่างแท้จริงจึงจะเขียนได้
การกระตุ้นการเลียนเเบบและการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆ อย่าง
  • คำนึงถึงเด็กทุกคน
  • ให้เล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน (การจับกลุ่มที่เหมาะสมควรมีเด็กพิเศษ 1 คน  ต่อเด็กปกติ 3 คน )
  • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน"ครู" ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ เมื่อเด็กหันมาหาครู
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  • เอาวัสดุอุปรกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาในการเล่น (การเอาของให้เด็กเล่น ควรให้จำนวนของครึ่งหนึ่ง ต่อเด็ก ตัวอย่างเช่น จำนวนเด็ก 4 คน ควรให้อุปกรณ์ ตักดิน ตักทราย 2 อัน  )
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้เเรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  • ทำโดย"การพูดนำของครู"
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  • ไม่ง่ายเลยสำหรับเด็กพิเศษ
  • การให้โอกาสเด็ก
  • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
*ความรู้เพิ่มเติม
  • เมื่อเด็กพิเศษเล่นของเล่นไม่เป็น ครูต้องช่วยประครองมือเด็กก่อน  จากนั้นเด็กก็จะเริ่มทำได้เอง
  • สร้างกฎกติกาในการเล่นของเล่นด้วยกัน
  • ปรัชญาการเรียนรวม"คือความเท่าเทียม"
  • ห้ามอ้างอภิสิทธิเด็กพิเศษเหนือกว่าเด็กปกติ
  • การบอกบทใช้กับเด็กพิเศษ เช่น ครูตั้งคำถามขึ้นมา และ ครูต้องตอบคำถามนั้นเอง
ตัวอย่าง  การบอกบท
ครู : ถามเด็กว่า"เสื้อตัวนี้สีอะไร"
เด็กพิเศษ : เงียบ
ครู : สีชมพูใช่ไหม? ครูตอบเองพาเด็กพูดด้วย

การนำไปประยุกต์
  1. รู้จักเทคนิคการสอนเด็กพิเศษที่หลากหลาย โดยใช้วิธีต่างๆที่เหมาะสมกับปัญหาของเด็กได้
  2. การสังเกตเด็กและแก้ไขให้ตรงจุดให้ความช่วยเหลือหรือส่งเสริมเด็กให้ดีขึ้น
  3. คำนึงถึงความเท่าเทียมเสมอ ไม่อ้างให้เด็กพิเศษมีอภิสิทธิเหนือกว่าเด็กปกติ
การประเมิน
ประเมินตนเอง   เเต่งกายเรียบร้อย วันนี้เข้าห้องสายไป10 นาที ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ รับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนเวลากิจกรรม เรียนเข้าใจเเละมีความสุขในการเรียนวิชานี้

ประเมินเพื่อน  ส่วนใหญ่เข้าห้องเรียนตรงเวลา  แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและจดบันทึกระหว่างเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตอบคำถามต่างๆ  บรรยากาศภายในห้องสนุกสนานเพราะเพื่อนๆและอาจารย์มีความเป็นกันเอง

ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นกันเอง เป็นอาจารย์ที่น่ารักและน่าไว้ใจเป็นที่ปรึกษาสำหรับเด็กๆได้เป็นอย่างดี มีกิจกรรมสนุกๆมาให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียนเสมอ และมีเพลงมาสอนร้องโดยที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละสัปดาห์ เพลงมีเนื้อหาสั้น จำง่าย ทำนองสนุกสนาน 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น