วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
วัน อังคาร ที่ 7 เมษายน พ.ศ.2558

ความรู้ที่ได้รับ
          เด็กพิเศษควรได้รับการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน คือ  
  • ด้านภาษา 
  • ด้านการช่วยเหลือตนเอง 
  • ด้านสังคม 
  • ด้านการเรียน

        วันนี้เป็นการเรียนการสอน  การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ  เรื่องทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เด็กสมาธิสั้นมีความสนใจสั้น 1-2 นาที ฝึกให้ได้ 6-7 นาที  ส่วนเด็กปกติ มีช่วงความสนใจได้นาน 10-15 นาที ดังนั้นครูควรสอนกิจกรรมที่ไม่ยาว สอนสั้นๆ  ถ้ายาวเกินไปเด็กจะเกิดความเบื่อและไม่สนใจอีกเลย

ทักษะด้านการเรียน 

เป้าหมาย
  • ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่าฉันทำได้
  • พัฒนาความกระตือรือร้น  อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  • จดจ่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ

เด็กพิเศษเรียนรู้จากการเลียนแบบ เลียนแบบพี่  เพื่อน หรือครู การนำระบบจับคู่บัดดี้มาใช้ในการเรียนการสอนเด็กจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีจากการสังเกตเพื่อนทำและทำตามเพื่อน

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ

  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว

หากเด็กได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น  จะส่งผลให้เด็กตอบสนองอย่างเหมาะสมได้

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก


  • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ศิลปะ
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง

อุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

  • ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
  • รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครู เพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป


ทักษะคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์



         จากภาพใช้การชี้นำ โดยใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กตอบ เช่น สูงไหม? เด็กจะตอบสั้นๆได้ว่า สูงๆ เด็กไม่รู้ความหมายข้างบนข้างล่าง ให้ครูพูดว่าหนูอยู่ข้างบนใช่ไหม?บ่อยๆ   พอลงมาข้างล่างครูก็พูดอีกว่า นี่หนูลงมาข้างล่างแล้วนะ

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นการเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน

ตัวอย่าง  กิจกรรมศิลปะ   
  1. ครูพาไปโต๊ะศิลปะหาจุดที่สนใจบอกและครูพาไป
  2. ใช้วิธีให้นำผ้าสักหลาดมาวางไว้และบอกเด็กเลยว่าหนูไปทำบนผ้าสีแดงของหนูนะ

  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย (เด็กมั่นใจที่จะหยิบมาใช้เพราะจับถนัดมือ)
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี เช่น การชม
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว เช่น แจกของให้เด็กเดินมาหยิบเองก็ได้
  • ทำบทเรียนให้สนุก

การนำไปใช้

  1. การนำระบบจับคู่บัดดี้ไปใช้ในการสอนเด็กพิเศษส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตัวเองได้จากการสังเกตและเลียนแบบตามเพื่อน
  2. การสั่งให้เด็กจะทำอะไรควรนำการเรียกชื่อไปใช้จะช่วยได้มากเด็กจะรู้สึกตื่นตัวและรู้ตัวว่าครูจะใช้ให้ทำอะไร ควรเรียกชื่อเด็กพิเศษก่อนแล้วค่อยเรียกเพื่อนที่เป็นบัดดี้เมื่อเพื่อนทำอะไรเด็กก็จะคล้อยตามได้ดีมากขึ้น
  3. ห้องเรียนรวมควรจัดกิจกรรมสั้นๆในการสอนเด็ก เพราะเด็กสมาธิสั้นมีความสนใจได้สั้นมาก 6-7นาที ถ้าจัดนานเกินไปเด็กจะเบื่อและไม่สนใจอีกเลย
  4. การใช้คำถามขณะเด็กทำสิ่งต่างๆและ ครูควรย้ำบริบทที่เด็กทำนั้นบ่อยๆ
  5. อำนวยความสะดวกโดยจัดให้มีวัสดุ อุปกรณ์อยู่ใกล้ๆมือเด็ก ไม่ควรเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เด็กใช้จนจับถนัดมือแล้ว


การประเมิน

ประเมินตนเอง  วันนี้เข้าห้องเรียนสาย10นาที อดได้ปั๊มจากอาจารย์เลย ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมที่อาจารย์สอน และแต่งกายเรียบร้อยค่ะ

ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม มีส่วนร่วมในการตอบคำถามกับอาจารย์ บรรยากาศภายในห้องเป็นกันเอง และสนุกสนานมากๆค่ะ


ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพ วันนี้อาจารย์แจกสีไม้24สีจากเงินค่าวัสดุ อุปกรณ์การเรียนด้วย การเรียนการสอนยกตัวอย่างเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างเข้าใจ สอนร้องเพลง สนุกสนาน และเป็นกันเองกับนักศึกษามากๆ เลยค่ะ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น