วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7
วัน อังคาร ที่ 10 มีนาคม  2558

ความรู้ที่ได้  วันนี้อาจารย์ได้เล่าเรื่องการสอบบรรจุข้าราชการครูให้ฟังเพื่อเป็นแนวทางในการวางอนาคตได้ ซึ่งในการสอบนั้นแบ่งเป็น3ระดับ 
  1. ความรู้ภาค ก.
  2. ความรู้ภาค ข.
  3. การสอบสัมภาษณ์ (ควรขออนุญาติทุกครั้ง!เมื่อต้องนำเสนอการสอน)

กิจกรรมก่อนเรียน    แบบทดสอบทางจิตวิทยา

อาจารย์ให้ดูวีดีโอ ผลิบานผ่านมือครู ของโรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ



กิจกรรมจังหวะกาย จังหวะชีวิต  
(ใช้ดนตรีในการให้จังหวะ ฝึกการฟังจังหวะ และใช้บทเพลงสั้นๆจำได้ง่าย)  
 กิจกรรมที่นำมาใช้ เช่น 
  • กิจกรรมลูกกลิ้ง
  • กิจกรรมผึ้งย้ายรัง  (ได้ใช้การเครื่องไหวร่างกาย จินตนาการ และบทบาทสมมุติ)
  • กิจกรรมการหยิบ  ยก  ส่ง (ฝึกความพร้อม)
  • กิจกรรมการใช้ห่วง โดยเด็กจะกระโดดเข้าออกจากห่วงได้
  • กิจกรรม รับส่งลูกบอล (เด็กได้กะระยะ และรู้จักทิศทางการรับ ส่งบอล)
  • กิจกรรมกิ้งกือ (ใช้เนื้อเพลง หอยโข่ง)




เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางภาษา
  • การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น  เช่น คำว่า สือ = หนังสือ    จก = จิ้งจก
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกสียง  เช่น คำว่า  ง่วง = ม่วง (เป็นช่วงหนึ่งของวัยที่ยังไม่แข็งแรง)
  • ติดอ่าง 

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่าพูดช้าๆ  ตามสบาย”  “คิดก่อนพูด
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
เด็กพิเศษจะเน้นอยู่2ด้านนี้
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา





ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กตอบ(ชี้แนะหากจำเป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว(ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้ได้มากเท่าไหร่  ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์
  1. ย้ำบริบทที่เด็กทำอยู่บ่อยๆ
  2. ไม่ขัดจังหวะเวลาเด็กพูด
  3. เมื่อเด็กทำไม่ได้ เช่น สวมที่คาดผมไม่ได้ ให้ถามเด็กว่าทำอะไร  สอนเด็กพูด ที่คาดผม เพื่อให้เขาหัดบอกความต้องการของตนเองให้ได้
  4. เข้าไปช่วยโดยการประครองมือเด็ก






ผลงานรวม





การประยุกต์ใช้
  1. ครูมีทัศนะคติที่เด็กต่อเด็ก และใช้ความรู้ที่มีช่วยเหลือส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
  2. เข้าใจพฤติกรรมของเด็กพิเศษที่แสดงออกมาและสามารถประเมินได้อย่างเหมาะสมกับวัย
  3. ไม่ละเลย การสังเกต และจดบันทึก พฤติกรรมของเด็กอย่างสม่ำเสมอ
  4. ควรย้ำในบริบทขณะที่เด็กทำอยู่  จะทำให้เด็กเรียนรู้การใช้ภาษาได้ดีขึ้น
  5. ควรใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการตนเอง
  6. การให้ความรักเอาใจใส่ และจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเด็กหรือปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาของเด็กได้

การประเมิน

ประเมินตนเอง   เข้าห้องตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  แต่วันนี้ไม่ค่อยได้ตั้งใจฟังอาจารย์เพราะในห้องเสียงดังนิดหน่อย ซึ่งตอนเช้าที่เข้าห้องมาแปลกใจมากนึกว่าเข้าผิดห้องเพราะอาจารย์เอา2เช็คมารวมกัน   เนื่องจากอาจารย์ต้องไปธุระต่อจึงให้เรียนรวมกัน2ห้อง สนุกดีค่ะได้พูดคุยกับเพื่อนๆที่ไม่ค่อยเจอด้วย

 ประเมินเพื่อน  ส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตอบคำถามกับอาจารย์อย่างดี มีน้ำใจในการหยิบสี  แบ่งปันสี  ให้เพื่อนๆ

ประเมินอาจารย์    แต่งกายสุภาพ  เข้าสอนตรงเวลา  มีเทคนิคในการสอนที่สนุกแล้วเข้าใจง่าย มีการสร้างเสริมแรงจูงใจให้ตอบคำถาม ถึงวันนี้จะสอน2ห้องรวมกันแต่อาจารย์ก็วิธีสอนที่ให้เด็กสนใจและตังใจเรียนได้  มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียนซึ่งสามารถนำไปสอนใช้กับเด็กพิเศษได้  ด้วยจำนวนคนที่เยอะจึงทำให้เวลาทำกิจกรรมมีพื้นที่บริเวณจำกัดทำให้ทำกิจกรรมไม่สะดวกเท่าไหร่นัก






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น