วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่12

บันทึกอนุทิน ครั้งที่12
วัน อังคาร ที่ 30 เมษายน พ.ศ.2558


ความรู้ที่ได้รับ

         กิจกรรมวันนี้ อาจารย์ให้สอบร้องเพลงที่สอนไปซึ่งมีทั้งหมด 20 เพลง ให้จับฉลากสุ่มว่าจะได้เพลงไหนแล้วร้องเพลงนั้นให้ฟัง ซึ่งคะแนนเต็มคือ ได้ 5 คะแนน เกณฑ์ในการให้คะแนน คือ (ถ้าขอดูเนื้อเพลงหัก 1 คะแนน) (ให้เพื่อนช่วยร้องหัก 1 คะแนน)  (เปลี่ยนเพลงหัก 0.5 คะแนน)
       แล้วเพลงที่ฉันจับได้ก็คือเพลง ฝึกกายบริหาร โชคดีมากๆเลยค่ะที่ได้เพลงนี้เพราะเป็นเพลงที่ง่าย เนื้อเพลงสั้น เลยสามารถร้องได้ 5 คะแนนเต็มได้^^
      วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายแล้วของเทอมนี้ เมื่อสอบร้องเพลงเสร็จครบทุกคนก็มีการแจกรางวัลเด็กดีให้กับเพื่อนๆที่ได้ แล้วก็ถ่ายรูปร่วมกับอาจารย์ไว้เป็นที่ระลึกด้วย


เพลง ฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายเเข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายเเข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว


การนำไปประยุกต์ใช้

  1. เมื่อเราร้องเพลงได้หลายเพลงก็จะง่ายต่อการนำเพลงต่างๆไปใช้สอนเด็กได้อย่างเหมาะสม
  2. เปิดโอกาสให้เรากล้าแสดงออกมากขึ้นในการร้องเพลง 
  3. เมื่อเด็กทำไม่ได้ครูควรมีหลายๆตัวเลือกมาให้เด็กได้เลือกวิธีนี้ทำให้เด็กกล้าและไม่กดดันเกินไป
  4. ฝึกร้องบ่อยๆและจำให้ได้ เพราะเพลงที่เรียนมาเหล่านี้ยังต้องนำไปใช้ในอนาคตของครูปฐมวัยแน่นอน

การประเมิน

ประเมินตนเอง  วันนี้ช่วงต้นคาบประมาน10นาทีแรกไม่ค่อยได้ตั้งใจเรียนเท่าไหร่เพราะมัวทำการบ้านส่งอาจารย์ท่านอื่นพยายามรีบๆทำอยู่เพราะเกรงใจที่มาทำในคาบอาจารย์เพราะงานนี้ไม่ให้ส่งเกินเที่ยง เมื่ออาจารย์เข้าสู่การเรียนการสอนอย่างจริงจังก็ทำงานเสร็จพอดีจึงหันมาตั้งใจเรียนกับอาจารย์มากขึ้น อยากขอบคุณอาจารย์มากนะคะที่ไม่ว่านักศึกษาทำงานในคาบ วันนี้สอบร้องเพลงก็ตั้งใจฝึกซ้อมมาบ้างแล้ว แต่ก็หวั่นๆกลัวว่าจะจับได้เพลงที่ยาก แต่พอได้เพลงนี้ก็ทำให้มั่นใจมากขึ้นเลย และนี้ก็เป็นเทอมสุดท้ายที่ได้เรียนกับอาจารย์หนูดีใจมากๆที่ได้เรียนกับอาจารย์อีกเพราะเทอมหน้าอาจารย์ไม่ได้สอนปี4แล้วรู้สึกใจหายค่ะ เพราะเวลาหนูเรียนกับอาจารย์แล้วรู้สึกสบายใจ อาจารย์สอนเข้าใจ ใส่ใจเด็ก รู้จักชื่อและเป็นกันเองกับทุกๆคนเลย อาจารย์แบบนี้แหละที่ไม่ว่าเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัวเด็กก็จะกล้าเข้าไปขอคำปรึกษาได้ หนูจะนำแบบอย่างในการเป็นครูที่ดีแบบอาจารย์ไปใช้ในอนาคตครูปฐมวัยต่อไป

ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา ทุกคนเเต่งกายเรียบร้อยทุกครั้งเลย ตั้งใจซ้อมร้องเพลงเพื่อมาสอบ ฉันชอบเรียนกับเพื่อนๆกลุ่มนี้มากเพราะเวลาเรียนก็ตั้งใจไม่ค่อยเสียงดัง อาจจะมีบางช่วงที่คุยแต่เมื่อเวลาเรียนเพื่อนก็เงียบเเล้วก็หันมาตั้งใจเรียน เพื่อนเซ็คนี้มีความเป็นมิตรและมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทุกๆเรื่องๆ

ประเมินอาจารย์   เข้าสอนตรงเวลาทุกครั้ง แต่งกายสุภาพเสมอ ใช้วาจาสุภาพกับนักศึกษา มีกิจกรรมสนุกๆมาให้เล่นคลายเคลียดก่อนเรียนเสมอ การมอบรางวัลเด็กดีทำให้มีกำลังใจในการเรียนมากขึ้น มีเทคนิควิธีสอนที่น่าจดจำและสามารถเป็นแบบอย่างนำไปใช้ได้จริง เป็นอาจารย์ที่นักศึกษาทุกๆคนรัก เพราะ มีความเป็นกันเอง ยิ้มแย้มแจ่มใจ  ใส่ใจในการสอนและเป็นที่ปรึกษาเรื่องต่างๆให้แก่นักศึกษาได้เป็นอย่างดี ทำให้นักศึกษาสบายใจทุกครั้งที่เรียนด้วย










วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่11

บันทึกอนุทิน ครั้งที่11
วัน อังคาร ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2558


         วันนี้อาจารย์ได้แจกสีไม้ Colleen คนละ 1  กล่อง 24 สี   และมีกิจกรรมสนุกสนุกๆมาให้เล่นคลายเครียดคือกิจกรรมแบบทดสอบเกมทายใจกระโดดร่ม และกิจกรรมหลังการเรียนคือ ระดมความคิดในการเขียนแผนIEP
แบบทดสอบเกมทายใจกระโดดร่ม



ความรู้ที่ได้รับ 

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education Program)

แผน IEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน  และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • ระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
*จะเขียนแผนนี้ได้ครูต้องเคยเจอกับเด็กๆมาก่อน และแผนจะนำไปใช้ได้จริงกับเด็กครูต้องมีการประชุมกับผู้ปกครองด้วย โดยแผนมีระยะเวลาการใช้ได้ 1 ปีต่อภาคเรียน

การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะได้ทราบว่าให้เริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
  • ต้องรู้ว่า เด็กทำอะไรได้ และ เด็กทำอะไรไม่ได้  แล้วจึงเริ่มเขียนแผนIEP 
IEP ประกอบด้วย
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการออกแบบในการสอนเด็ก 
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • ระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมิน
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาเเละฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1. การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง 
2. การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
  1. ระยะยาว
  2. ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว 
  • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง เช่น น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้   น้องดาวร่วมมือกับผู้ปกครองได้ดีขึ้น  น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
 จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก เช่น การช่วยเหลือตนเองกำหนด (การเข้าห้องน้ำด้วยตนเอง) (กินข้าวด้วยตนเอง)
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  • จุดมุ่งหมายระยะสั้นต้องมี 4 ข้อนี้ คือ 
  1. จะสอนใคร
  2. พฤติกรรมอะไร
  3. เมื่อไหร่  ที่ไหน  (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
  4. พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่าง เช่น

1.
  • ใคร                               อรุณ............................. (บรรยายยาวไปเรื่อยๆ)
  • อะไร                             กระโดดเชือกขาเดียวได้
  • เมื่อไหร่/ที่ไหน            กิจกรรมกลางแจ้ง  
  • ดีขนาดไหน                 กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ภายใน 30 วินาที 
2. 
  • ใคร                                ธนภรณ์.......................................
  • อะไร                              นั่งเงียบๆโดยไม่พูด
  • เมื่อไหร/ที่ไหน             ระหว่างครูเล่านิทาน
  • ดีขนาดไหน                  ช่วงเวลาการเล่นนิทาน 10-15 นาทีเป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน

การใช้แผน 
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถโดยคำนึงถึง
  1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็ก
  2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
  3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4.การประเมินผล
  • จะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ต้องกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
**การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม  อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน



กิจกรรม
     อาจารย์ให้จับกลุ่มกัน 5 คนแล้วเลือกคนใดคนหนึ่งที่จะให้เป็นเด็กพิเศษประเภทใดก็ได้ แล้วร่วมกันระดมความคิดในการเขียนแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล



ตัวอย่าง
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล




ตัวอย่างการเขียนแผนIEP

แผนของกลุ่มเรา



การนำไปประยุกต์ใช้
  1. ได้รู้หลักการ และเข้าใจมากขึ้นในการเขียนแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลได้ถูกต้อง
  2. สามารถเขียนแผนแบบระยะสั้น และระยะยาวได้ เพื่อนำไปใช้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม
  3. ทำให้เรารู้จักเด็กมากขึ้น รู้ว่าจะนำแผนไปใช้กับเด็กอย่างไร และจัดการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับความสามารถของเด็กได้
  4. ทำให้รู้ว่าการเขียนแผนIEP ต้องมีการรวบรวมความรู้จากที่ใดบ้าง เช่น จากแพทย์ประจำตัวเด็ก จากรายงานประเมินต่างๆของเด็ก จากครู ผู้ปกครอง และเมื่อมีการนำแผนไปใช้ครูต้องประชุมกับผู้ปกครองให้รับทราบด้วย
  5. แผนIEP สามารถบ่งบอกได้ว่าเด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน เพราะได้จัดการเรียนการสอนที่เป็นขั้นตอนตามแผนเราก็จะพัฒนาเด็กได้ตามจุดประสงค์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
การประเมิน
การประเมินตนเอง   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เตรียมเอกสารในการเรียนมาพร้อม จดบันทึกเนื้อหาต่างๆที่อาจารย์สอนเพิ่มเติม ตั้งใจทำงานกลุ่มและให้ความร่วมมือกับเพื่อนเพื่อเป็นตัวแทนให้เพื่อนใช้เป็นตัวอย่างในการเขียนแผนIEP บรรยากาศในการทำงานกลุ่มสนุกสนานได้ร่วมมือกับเพื่อนๆคนอื่นๆที่ยังไม่เคยทำงานกลุ่มเดียวกันด้วย

ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีน้อยมากที่เข้าเรียนสายนิดหน่อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนบางคนก็มีจดบันทึกเนื้อหาระหว่างเรียน แต่งกายถูกระเบียบทุกคน ได้แสดงความคิดเห็นและโต้ตอบกับครูระหว่างที่สอน ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มอย่างราบรื่นด้วยดี

ประเมินอาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีวิธีสอนที่เข้าใจง่าย ไม่น่าเบื่อ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ต่างๆได้ดีนักศึกษาเข้าใจมากขึ้น ใส่ใจกับการเรียนการสอนเพราะเมื่อไหร่ที่อาจารย์มอบหมายงานให้ทำอาจารย์จะเดินดูและให้คำปรึกษาจนเข้าใจทุกคน มีการวางแผนในการสอนเสมอนัดตารางเรียนชดเชยให้นักศึกษาทราบโดยทั่วกัน 





วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
วัน อังคาร ที่ 7 เมษายน พ.ศ.2558

ความรู้ที่ได้รับ
          เด็กพิเศษควรได้รับการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน คือ  
  • ด้านภาษา 
  • ด้านการช่วยเหลือตนเอง 
  • ด้านสังคม 
  • ด้านการเรียน

        วันนี้เป็นการเรียนการสอน  การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ  เรื่องทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เด็กสมาธิสั้นมีความสนใจสั้น 1-2 นาที ฝึกให้ได้ 6-7 นาที  ส่วนเด็กปกติ มีช่วงความสนใจได้นาน 10-15 นาที ดังนั้นครูควรสอนกิจกรรมที่ไม่ยาว สอนสั้นๆ  ถ้ายาวเกินไปเด็กจะเกิดความเบื่อและไม่สนใจอีกเลย

ทักษะด้านการเรียน 

เป้าหมาย
  • ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่าฉันทำได้
  • พัฒนาความกระตือรือร้น  อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  • จดจ่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ

เด็กพิเศษเรียนรู้จากการเลียนแบบ เลียนแบบพี่  เพื่อน หรือครู การนำระบบจับคู่บัดดี้มาใช้ในการเรียนการสอนเด็กจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีจากการสังเกตเพื่อนทำและทำตามเพื่อน

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ

  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว

หากเด็กได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น  จะส่งผลให้เด็กตอบสนองอย่างเหมาะสมได้

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก


  • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ศิลปะ
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง

อุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

  • ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
  • รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครู เพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป


ทักษะคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์



         จากภาพใช้การชี้นำ โดยใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กตอบ เช่น สูงไหม? เด็กจะตอบสั้นๆได้ว่า สูงๆ เด็กไม่รู้ความหมายข้างบนข้างล่าง ให้ครูพูดว่าหนูอยู่ข้างบนใช่ไหม?บ่อยๆ   พอลงมาข้างล่างครูก็พูดอีกว่า นี่หนูลงมาข้างล่างแล้วนะ

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นการเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน

ตัวอย่าง  กิจกรรมศิลปะ   
  1. ครูพาไปโต๊ะศิลปะหาจุดที่สนใจบอกและครูพาไป
  2. ใช้วิธีให้นำผ้าสักหลาดมาวางไว้และบอกเด็กเลยว่าหนูไปทำบนผ้าสีแดงของหนูนะ

  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย (เด็กมั่นใจที่จะหยิบมาใช้เพราะจับถนัดมือ)
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี เช่น การชม
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว เช่น แจกของให้เด็กเดินมาหยิบเองก็ได้
  • ทำบทเรียนให้สนุก

การนำไปใช้

  1. การนำระบบจับคู่บัดดี้ไปใช้ในการสอนเด็กพิเศษส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตัวเองได้จากการสังเกตและเลียนแบบตามเพื่อน
  2. การสั่งให้เด็กจะทำอะไรควรนำการเรียกชื่อไปใช้จะช่วยได้มากเด็กจะรู้สึกตื่นตัวและรู้ตัวว่าครูจะใช้ให้ทำอะไร ควรเรียกชื่อเด็กพิเศษก่อนแล้วค่อยเรียกเพื่อนที่เป็นบัดดี้เมื่อเพื่อนทำอะไรเด็กก็จะคล้อยตามได้ดีมากขึ้น
  3. ห้องเรียนรวมควรจัดกิจกรรมสั้นๆในการสอนเด็ก เพราะเด็กสมาธิสั้นมีความสนใจได้สั้นมาก 6-7นาที ถ้าจัดนานเกินไปเด็กจะเบื่อและไม่สนใจอีกเลย
  4. การใช้คำถามขณะเด็กทำสิ่งต่างๆและ ครูควรย้ำบริบทที่เด็กทำนั้นบ่อยๆ
  5. อำนวยความสะดวกโดยจัดให้มีวัสดุ อุปกรณ์อยู่ใกล้ๆมือเด็ก ไม่ควรเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เด็กใช้จนจับถนัดมือแล้ว


การประเมิน

ประเมินตนเอง  วันนี้เข้าห้องเรียนสาย10นาที อดได้ปั๊มจากอาจารย์เลย ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมที่อาจารย์สอน และแต่งกายเรียบร้อยค่ะ

ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม มีส่วนร่วมในการตอบคำถามกับอาจารย์ บรรยากาศภายในห้องเป็นกันเอง และสนุกสนานมากๆค่ะ


ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพ วันนี้อาจารย์แจกสีไม้24สีจากเงินค่าวัสดุ อุปกรณ์การเรียนด้วย การเรียนการสอนยกตัวอย่างเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างเข้าใจ สอนร้องเพลง สนุกสนาน และเป็นกันเองกับนักศึกษามากๆ เลยค่ะ






วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

วัน อังคาร ที่ 24  มีนาคม 2558


วันนี้มีการสอบย่อยเก็บคะแนน


การประเมิน 
ประเมินตนเอง   แต่งกายเรียบร้อย  เข้าห้องเรียนตรงเวลา มีการเตรียมตัวมาก่อนจะสอบแต่ไม่ค่อยมั่นใจในคำตอบ แต่ก็ทำดีที่สุดแล้วค่ะ

ประเมินเพื่อน   แต่งกายเรียบร้อย  ตรงต่อเวลา ตั้งใจสอบกันทุกคน 

ประเมินอาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา  เเต่งกายสุภาพ วันนี้อาจาย์ใส่เสื้อที่ฉันไม่เคยเห็นอาจารย์เคยใส่มาสอนทำให้ดูเรียบร้อยไปอีกแบบ ปกติอาจารย์จะแต่งเรียบร้อยน่ารักๆ วันนี้แต่งสุขุม นิ่งๆ ก่อนเลิกเรียนอาจารย์มีการสรุปความรู้ พูดคุยเกี่ยวกับข้อสอบ และบอกล่วงหน้าว่าเราจะเรียนเรื่องอะไรต่อไป(การเขียนแผนIEP)ทำให้นักศึกษาได้มีการเตรียมตัวในการเรียนเรื่องนั้นๆ






วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8
วัน อังคาร ที่ 17 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ 
กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน  เป็นการเล่นเกมถามทางจิตวิทยาสนุกๆ เกี่ยวกับไปเที่ยวสวนสตอว์เบอรี่





เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง   เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด

  • การกินอยู่
  • การเข้าห้องน้ำ
  • การแต่งตัว
สิ่งเหล่านี้เด็กพิเศษสามารถทำได้ด้วยตนเองได้



การสร้างความอิสระโดยที่ไม่พึ่งใคร

  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อนและผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • การทำได้ด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง

ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น  เด็กให้ช่วยอะไรก็ช่วยแค่นั้นไม่ต้องช่วยเยอะ(นอกจากเด็กจะให้ช่วยอีกค่อยช่วย)


จะช่วยเมื่อไหร่
  • เด็กจะมีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร เช่น  หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้  แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ตารางเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดกับเด็กตามช่วงอายุแต่ละปี






ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
 ตัวอย่างการย่อยงาน  การเข้าส้วม
   
วิธีย่อยงาน

1.       เข้าไปในห้องน้ำ
2.       ดึงกางเกงลง
3.       ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
4.       ปัสสาวะหรืออุจจาระ
5.       ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
6.       ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
7.       กดชักโครกหรือตักน้ำราด
8.       ดึงกางเกงขึ้น
9.       ล้างมือ
10.     เช็ดมือ
11.      เดินออกจากห้องส้วม


การย้อน  คือ  ครูช่วยทำขั้นที่ 1 2 3 4 …..และขั้นสุดท้ายให้เด็กทำเอง


การวางแผนทีละขั้น
  • ต้องแยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้ได้มากที่สุด


แผนนี้ควรเตรียมไว้ก่อนเข้าหาเด็ก




สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆ นำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
กิจกรรมในห้องเรียน
วันนี้อาจารย์ให้วาดรูปวงกลมให้จุดตรงกลางเปรียบเสมีอนหัวใจเราโดยใช้สีที่ชอบเท่านั้นมาระบาย




แจกอุปกรณ์


เลือกสีตามใจชอบและระบายเป็นวงกลม


ตัดรูปวงกลมที่วาดออกมา




แต่ละคนนำวงกลมตนเองไปติดเป็นภาพต้นไม้




ผลงานของห้องเรา




วันนี้มีเพลงมานำเสนอ 5 เพลง  ดังนี้

ผู้แต่ง อ. ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง  อ.  ตฤณ  แจ่มถิน


เพลง  นกกระจิบ
นั่นนก  บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ  1  2   3  4  5
อีกฝูงบินล่องลอยมา  6   7  8  9  10 ตัว


เพลง  แม่ไก่ออกไข่  
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1 วันได้ไข่ 1 ฟอง


เพลง  ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว  เลี้ยงควาย
เอาไว้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา  เลี้ยงแมวไว้เป็นเพื่อนลุงมา
*หมาก็เห่า  บ๊อก   บ๊อก
แมวก็ร้อง  เมี๊ยว  เมี๊ยว
ลุงมาไถนา  วัวร้อง  มอ  มอ
(ซ้ำ*)

  
เพลง  เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท่องไร่ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1  2  3  4  5  ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6  7  8  9  10  ตัว


เพลง   ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป  1  ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว  9 ตัว


การนำไปประยุกต์ใช้
  1. การให้เวลาเด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองโดยไม่ไปกดดันหรือพูดว่า"เด็กทำช้า"  "ทำไม่ได้"
  2. ครูต้องใจเเข็งช่วยเหลือเด็กเท่าที่เด็กให้ช่วย ห้ามช่วยเกินความจำเป็นเพราะเด็กจะทำเองไม่ได้
  3. เข้าใจวิธีการย่อยงาน และการย้อน ไปใช้ในการสอนให้เด็กทำได้ เด็กจะเกิดความภูมิใจในตนเองเมื่อทำสิ่งต่างๆได้เอง
  4. นำไปเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการเขียนแผน IEP. ต่อไป
  5. กิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำสามารถนำไปใช้กับเด็กได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กมีจินตนาการกิจกรรมนี้บ่งบอกลักษณะของเด็กได้  เป็นกิจกรรมที่ผ่อนคลาย แถมยังฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กได้อีกด้วย
การประเมิน

ประเมินตนเอง   แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเเละจดเนื้อหาเพิ่มเติมเสม่ำเสมอ ตั้งใจทำกิจกรรมเสมอ  ได้ข้อคิดต่างๆเพิ่มขึ้นจากการเรียน เช่น 1.การเลือกโรงเรียนสังเกตไม่ควรเลือกตามเพื่อน เพราะอาจจะไม่สะดวกในการเดินทาง ทำให้ขาด ลา มาสาย แล้วก็จะฝึกไม่ผ่าน 2.การเตรียมตัวเขียนแผนในอีกไม่กี่สัปดาห์ที่จะถึง ต่อไปต้องตั้งใจเรียนมากกว่านี้ เพื่อที่จะมีข้อมูลมากมาเขียนเเผนIEP ได้ 3.การอ่านทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาเพื่อเตรียมตัวสอบเก็บคะเเนนในคาบต่อไป

ประเมินเพื่อน  ส่วนใหญ่เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ทุกคนแต่งกายเรียบร้อย มีความสามัคคีกันจะเห็นได้จากการช่วยเหลือกันและกันที่แสดงความคิดเห็นเมื่อคนสุดท้ายของห้องนำวงหลมไปติดกระดานทุกคนจะบอกเพื่อนๆว่าควรติดตรงไหน มีการตอบคำถามระหว่างเรียนได้ดี มีน้ำใจช่วยหยินสีเทียนให้เพื่อนๆ บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน และมีความสุขน่าเรียนที่สุด

ประเมินอาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพ สอนเข้าใจมีการยกเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่เข้าใจง่าย มีเกมกิจกรรมสนุกๆมาให้ทำเสมอไม่เครียด มีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนใจทั้งบุคลิก ท่าทาง วิธีการพูด และการใช้สื่อในการสอน ประกอบกับอาจารย์เป็นคนยิ้มแย้ม ใจดี เป็นกันเองกับนักศึกษาจึงทำการเรียนสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ









วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7
วัน อังคาร ที่ 10 มีนาคม  2558

ความรู้ที่ได้  วันนี้อาจารย์ได้เล่าเรื่องการสอบบรรจุข้าราชการครูให้ฟังเพื่อเป็นแนวทางในการวางอนาคตได้ ซึ่งในการสอบนั้นแบ่งเป็น3ระดับ 
  1. ความรู้ภาค ก.
  2. ความรู้ภาค ข.
  3. การสอบสัมภาษณ์ (ควรขออนุญาติทุกครั้ง!เมื่อต้องนำเสนอการสอน)

กิจกรรมก่อนเรียน    แบบทดสอบทางจิตวิทยา

อาจารย์ให้ดูวีดีโอ ผลิบานผ่านมือครู ของโรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ



กิจกรรมจังหวะกาย จังหวะชีวิต  
(ใช้ดนตรีในการให้จังหวะ ฝึกการฟังจังหวะ และใช้บทเพลงสั้นๆจำได้ง่าย)  
 กิจกรรมที่นำมาใช้ เช่น 
  • กิจกรรมลูกกลิ้ง
  • กิจกรรมผึ้งย้ายรัง  (ได้ใช้การเครื่องไหวร่างกาย จินตนาการ และบทบาทสมมุติ)
  • กิจกรรมการหยิบ  ยก  ส่ง (ฝึกความพร้อม)
  • กิจกรรมการใช้ห่วง โดยเด็กจะกระโดดเข้าออกจากห่วงได้
  • กิจกรรม รับส่งลูกบอล (เด็กได้กะระยะ และรู้จักทิศทางการรับ ส่งบอล)
  • กิจกรรมกิ้งกือ (ใช้เนื้อเพลง หอยโข่ง)




เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางภาษา
  • การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น  เช่น คำว่า สือ = หนังสือ    จก = จิ้งจก
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกสียง  เช่น คำว่า  ง่วง = ม่วง (เป็นช่วงหนึ่งของวัยที่ยังไม่แข็งแรง)
  • ติดอ่าง 

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่าพูดช้าๆ  ตามสบาย”  “คิดก่อนพูด
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
เด็กพิเศษจะเน้นอยู่2ด้านนี้
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา





ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กตอบ(ชี้แนะหากจำเป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว(ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้ได้มากเท่าไหร่  ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์
  1. ย้ำบริบทที่เด็กทำอยู่บ่อยๆ
  2. ไม่ขัดจังหวะเวลาเด็กพูด
  3. เมื่อเด็กทำไม่ได้ เช่น สวมที่คาดผมไม่ได้ ให้ถามเด็กว่าทำอะไร  สอนเด็กพูด ที่คาดผม เพื่อให้เขาหัดบอกความต้องการของตนเองให้ได้
  4. เข้าไปช่วยโดยการประครองมือเด็ก






ผลงานรวม





การประยุกต์ใช้
  1. ครูมีทัศนะคติที่เด็กต่อเด็ก และใช้ความรู้ที่มีช่วยเหลือส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
  2. เข้าใจพฤติกรรมของเด็กพิเศษที่แสดงออกมาและสามารถประเมินได้อย่างเหมาะสมกับวัย
  3. ไม่ละเลย การสังเกต และจดบันทึก พฤติกรรมของเด็กอย่างสม่ำเสมอ
  4. ควรย้ำในบริบทขณะที่เด็กทำอยู่  จะทำให้เด็กเรียนรู้การใช้ภาษาได้ดีขึ้น
  5. ควรใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการตนเอง
  6. การให้ความรักเอาใจใส่ และจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเด็กหรือปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาของเด็กได้

การประเมิน

ประเมินตนเอง   เข้าห้องตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  แต่วันนี้ไม่ค่อยได้ตั้งใจฟังอาจารย์เพราะในห้องเสียงดังนิดหน่อย ซึ่งตอนเช้าที่เข้าห้องมาแปลกใจมากนึกว่าเข้าผิดห้องเพราะอาจารย์เอา2เช็คมารวมกัน   เนื่องจากอาจารย์ต้องไปธุระต่อจึงให้เรียนรวมกัน2ห้อง สนุกดีค่ะได้พูดคุยกับเพื่อนๆที่ไม่ค่อยเจอด้วย

 ประเมินเพื่อน  ส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตอบคำถามกับอาจารย์อย่างดี มีน้ำใจในการหยิบสี  แบ่งปันสี  ให้เพื่อนๆ

ประเมินอาจารย์    แต่งกายสุภาพ  เข้าสอนตรงเวลา  มีเทคนิคในการสอนที่สนุกแล้วเข้าใจง่าย มีการสร้างเสริมแรงจูงใจให้ตอบคำถาม ถึงวันนี้จะสอน2ห้องรวมกันแต่อาจารย์ก็วิธีสอนที่ให้เด็กสนใจและตังใจเรียนได้  มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียนซึ่งสามารถนำไปสอนใช้กับเด็กพิเศษได้  ด้วยจำนวนคนที่เยอะจึงทำให้เวลาทำกิจกรรมมีพื้นที่บริเวณจำกัดทำให้ทำกิจกรรมไม่สะดวกเท่าไหร่นัก






วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6 
วัน อังคาร ที่ 3 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ แล้วอาจารย์ก็มีกิจกรรมให้ทำ 3 กิจกรรม



1.  แบบทดสอบทางจิตใจ 5 ข้อ




2.  กิจกรรมที่ใช้ฝึกการบำบัดเด็กพิเศษ โดยให้ จับคู่กับเพื่อนแล้วแบ่งกันว่าใครจะเป็นเส้น ใครเป็นจุด แล้วอาจารย์จะเปิดเพลงคนเป็นเส้นก็ลากเส้นตามจังหวะของเพลงห้ามยกสีเทียนขึ้นก่อนที่เพลงจะจบ ส่วนคนที่เป็นจุดก็จุดตามวงกลมของคนที่เป็นเส้นลากไว้ โดยฟังจากจังหวะของเพลงกัน ทั้งคู่ต้องทำไป
พร้อมๆกัน



3. ร้องเพลงทั้งหมด 6 เพลง โดยมีเนื้อหาเพลงดังนี้ 

ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง  อ.ตฤณ  แจ่มถิน

เพลง  ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง  ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า  บ่งเวลาว่า
กลางวัน

เพลง  ดอกมะลิ
ดอกมะลิ  กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ  อบขนมหอมชื่นใจ

เพลง  นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู จุ๊กกรู  

เพลง  ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
เเสงพราวตาเวลาค่ำคืน

เพลง  กุหลาบ
กุหลาบงาม  ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน

เพลง  รำวงดอกมะลิ
รำวง  รำวง  ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจ  จริงเอย


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.ทักษะทางสังคม
  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
*ดังนั้น สภาพแวดล้อมไม่จำเป็นต้องเน้นมาก เพราะไม่มีผลต่อเด็ก (ควรปรับที่ตัวเด็กมากกว่า)

กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงแรกๆ  เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน เเต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  • ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ (สำคัญ)
  • จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  • ครูจดบันทึก
  • ทำแผน IEP ครูต้องรู้จักเด็กคนนั้นอย่างแท้จริงจึงจะเขียนได้
การกระตุ้นการเลียนเเบบและการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆ อย่าง
  • คำนึงถึงเด็กทุกคน
  • ให้เล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน (การจับกลุ่มที่เหมาะสมควรมีเด็กพิเศษ 1 คน  ต่อเด็กปกติ 3 คน )
  • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน"ครู" ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ เมื่อเด็กหันมาหาครู
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  • เอาวัสดุอุปรกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาในการเล่น (การเอาของให้เด็กเล่น ควรให้จำนวนของครึ่งหนึ่ง ต่อเด็ก ตัวอย่างเช่น จำนวนเด็ก 4 คน ควรให้อุปกรณ์ ตักดิน ตักทราย 2 อัน  )
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้เเรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  • ทำโดย"การพูดนำของครู"
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  • ไม่ง่ายเลยสำหรับเด็กพิเศษ
  • การให้โอกาสเด็ก
  • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
*ความรู้เพิ่มเติม
  • เมื่อเด็กพิเศษเล่นของเล่นไม่เป็น ครูต้องช่วยประครองมือเด็กก่อน  จากนั้นเด็กก็จะเริ่มทำได้เอง
  • สร้างกฎกติกาในการเล่นของเล่นด้วยกัน
  • ปรัชญาการเรียนรวม"คือความเท่าเทียม"
  • ห้ามอ้างอภิสิทธิเด็กพิเศษเหนือกว่าเด็กปกติ
  • การบอกบทใช้กับเด็กพิเศษ เช่น ครูตั้งคำถามขึ้นมา และ ครูต้องตอบคำถามนั้นเอง
ตัวอย่าง  การบอกบท
ครู : ถามเด็กว่า"เสื้อตัวนี้สีอะไร"
เด็กพิเศษ : เงียบ
ครู : สีชมพูใช่ไหม? ครูตอบเองพาเด็กพูดด้วย

การนำไปประยุกต์
  1. รู้จักเทคนิคการสอนเด็กพิเศษที่หลากหลาย โดยใช้วิธีต่างๆที่เหมาะสมกับปัญหาของเด็กได้
  2. การสังเกตเด็กและแก้ไขให้ตรงจุดให้ความช่วยเหลือหรือส่งเสริมเด็กให้ดีขึ้น
  3. คำนึงถึงความเท่าเทียมเสมอ ไม่อ้างให้เด็กพิเศษมีอภิสิทธิเหนือกว่าเด็กปกติ
การประเมิน
ประเมินตนเอง   เเต่งกายเรียบร้อย วันนี้เข้าห้องสายไป10 นาที ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ รับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนเวลากิจกรรม เรียนเข้าใจเเละมีความสุขในการเรียนวิชานี้

ประเมินเพื่อน  ส่วนใหญ่เข้าห้องเรียนตรงเวลา  แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและจดบันทึกระหว่างเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตอบคำถามต่างๆ  บรรยากาศภายในห้องสนุกสนานเพราะเพื่อนๆและอาจารย์มีความเป็นกันเอง

ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นกันเอง เป็นอาจารย์ที่น่ารักและน่าไว้ใจเป็นที่ปรึกษาสำหรับเด็กๆได้เป็นอย่างดี มีกิจกรรมสนุกๆมาให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียนเสมอ และมีเพลงมาสอนร้องโดยที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละสัปดาห์ เพลงมีเนื้อหาสั้น จำง่าย ทำนองสนุกสนาน